การสืบพันธุ์ของพืชดอก
การถ่ายละออกเรณู การปฏิสนธิ และ วัฏจักร
1. การถ่ายละออกเรณูของพืชดอก (Pollination)
การถ่ายละอองเรณู หมายถึง ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูปลิวมาตกบนยอดเกสรตัวเมียของดอกชนิดเดียวกัน
การถ่ายละออกเรณูเกิดขึ้นเมื่อละอองเรณูเจริญเต็มที่ อับเรณูจะแตกออกทำให้ละอองเรณูกระจายออกไป โดยอาศัยลม น้ำ โดยเฉพาะ แมลง มีความสำคัญมากในการถ่ายละอองเรณูของพืชดอก และบนยอดเกสรตัวเมีย โดยจะมีน้ำเหนียวๆ(Stigma) ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ซึ่งช่วยในการดักละอองเรณู
การถ่ายละอองเรณู มี 2 แบบ คือ
1. การถ่ายละอองเรณูในดอกเดียวกัน หรือคนละดอกในต้นเดียวกัน (Self pollination) การถ่ายละอองเรณูแบบนี้จะทำให้รุ่นลูกมีสมบัติทางกรรมพันธุ์เหมือนเดิม ถ้าเป็นพันธุ์ดีก็จะถ่ายทอดลักษณะพันธุ์ดีไปเรื่อย ๆ
2. การถ่ายละออกเรณูคนละดอกของต้นไม้คนละต้นในพืชนิดเดียวกัน (Cross pollination) เป็นการถ่ายละอองเรณูแบบข้ามดอก หรือต่างต้นกัน ก็จะทำให้พืชมีลักษณะต่างๆ หลากหลายและอาจจะได้พืชพันธุ์ใหม่ ๆขึ้นมาได้
การปฏิสนธิของพืชดอก
เมื่อ ละอองเรณู ตกลงสู่ ยอดเกสรตัวเมีย ละอองเรณูจะงอกท่อยาว เรียกว่า พอลเลนทิวบ์ (Pollen tube) ลงสู่ก้านเกสรตัวเมีย ทิวบ์นิวเคลียสจะเคลื่อนตัวไปตามท่อ ผ่านทางรู ไมโครไพล์ (Micropyle) ของออวุล ในขณะนี้เจเนเรทีฟนิวเคลียส (Generative nucleus) จะแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซีสได้สเปิร์มนิวเคลียส (Sperm nucleus) 2 ตัว เข้าผสมกัน นิวเคลียสของไข่ (Egg cell) ได้ไซโกต (2n) ซึ่งจะเจริญเป็นเอมบริโอต่อไป ส่วนอีกนิวเคลียสจะผสมกับโพลาร์นิวคลีไอ (Polar nuclei) เจริญเป็นเอนโดสเปิร์ม (3n) ซึ่งเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงเอมบริโอ
การผสมซึ่งเกิดจากการผสม 2 ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (Double Fertilization) ซึ่งพบเฉพาะใน พืชดอก เท่านั้น
หลังจากปฏิสนธิแล้ว
- รังไข่(ovary ) เจริญเป็น ผล
- ผนังรังไข่(ovary wall ) เจริญเป็น เปลือกและเนื้อของผลไม้
- ออวุล (ovule ) เจริญเป็น เมล็ด
- ไข่(egg ) เจริญเป็น ต้นอ่อนอยู่ภายในเมล็ด
- โพลาร์นิวเคลียส(polar nucleus ) เจริญเป็น เอนโดสเปิร์ม
- เยื่อหุ้มออวุล (integument ) เจริญเป็น เปลือกหุ้มเมล็ด
- สำหรับส่วนประกอบอื่น ๆ ของดอกจะเหี่ยวแห้งและสลายตัวไป
การปฏิสนธิซ้อนของพืชดอก มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างอาหารให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ผลไม้ที่เราใช้รับประทานก็เกิดมาจากการปฏิสนธิ อาหารพวกจ้าว ข้าวโพด ก็เป็นส่วนของเอนโดสเปิร์ม อาหารในเมล็ดถั่วหลายชนิดก็เป็นอาหารที่สะสมอยู่ในใบเลี้ยงของเอมบริโอของถั่ว
ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณูและการปฏิสนธิ
ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณู (Pollination agent) เชน ลม แมลง น้ำหรือสัตว์อื่นๆ จะเป็นสื่อพาละอองเรณูไปด้วยเหตุนี้โครงสร้างของดอกทั่วไปจึงมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละอย่าง เพื่อทำให้การถ่ายละอองเรณูและการปฏิสนธิมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดการถ่ายละอองเรณูได้แก่
1. ลม ดอกไม้ที่มีลมเป็นสื่อพาละอองเรณูไปจะมีละอองเรณูจำนวนมาก แห้งและเบา สามารถปลิวไปกับลมได้ง่ายและไปได้ไกลๆ ดอกมักมีขนาดเล็ก ไม่มีกลิ่นหอม ไม่มีน้ำหวานสำหรับล่อแมลง เช่น ดอกข้าวและดอกพืชตระกูลหญ้าต่างๆ ละหุ่ง พวกสนเกี๊ยะ ละองเรณูยังมีปีก 2 ข้าง ช่วยให้ปลิวได้ง่ายและดีขึ้นสำหรับยอดเกสรตัวเมียของพืชพวกที่มีลมเป็นสื่อพาไปมักจะมีการแตกเป็นฝอยคล้ายขนนกหรือมียางเหนียวๆ เพื่อจับละอองเรณู การใช้ลมพาไปเรียกว่า”แอนีโมฟีลี” (anemophily)
2. แมลง ดอกไม้ที่มีแมลงเป็นสื่อพาละอองเรณูไปมักเป็นดอกไม้ที่มีสีสันสวย กลิ่นหอม และมีต่อมน้ำหวานเพื่อล่อแมลงให้มาหาอาหาร ซึ่งทำให้ละอองเรณูติดไปตามปีก ขา ลำตัว ปากของแมลง ละอองเรณูของดอกพวกนี้มักจะเหนียวทำให้ติดกับแมลงได้ง่ายเมื่อแมลงบินไปที่ดอกอื่นก็จะพาเอาละอองเรณูไปผสมได้ง่าย แมลงพวกนี้ได้แก่ ผีเสื้อ ผึ้ง แมลงภู่ การใช้แมลงเป็นสื่อในการนำละอองเรณูไปแบบนี้เรียกว่า “เอนโทโมฟรลี” (entomophily)
3. สัตว์อื่นๆ เช่น นกซึ่งชอบกินเกสรดอกไม้ ซึ่งมีอยู่ค่อนข้างน้อย เช่น นกฮัมมิ่ง (Humming bird) การใช้นกเป็นสื่อในการพาละอองเรณูไปเรียกว่า “ออร์นิโทฟีลี” (ornithophily)
4. น้ำ พืชที่ใช้น้ำเป็นสื่อในการพาละอองเรณูไปก็ คือ พวกพืชน้ำเป็นส่วนใหญ่ การใช้น้ำเป็นสื่อในการพาละอองเรณูไปเรียกว่า “ไฮโดรฟีลี” (hydrophily)
Credit : https://noodangdru.wordpress.com
https://sites.google.com/site/chiwwithya5/kar-thay-laxxng-renu
เนื้อหาดีมากค้ะ
ตอบลบดีมากค่ะ
ตอบลบเนื้อหาเข้าใจง่ายดีค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดีค่ะ
ตอบลบดีมากคับ
ตอบลบ